ตรา PGS ใหม่ สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมและงานคราฟต์

ตรามาตรฐาน

ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems: PGS) กลุ่มสินค้า สิ่งแวดล้อมและงานคราฟต์

หลักเกณฑ์การตรวจรับรองสินค้างานฝีมือและงาน Craft   ของเครือข่ายตลาดสีเขียว

 ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)ในหัวข้อ  คุณค่าของวัสดุและกรรมวิธีการผลิต , คุณค่าทางความงาม ,คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย

  1. วัตถุดิบ จากอะไร
  2. ทำด้วยมือ หรือเครื่องมืออย่างง่าย (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ทำจากมือ 100 %)
  3. ผลิตโดยช่างฝีมือ หรืองานช่างแบบดั้งเดิม
  4. อาจเป็นงานที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ,เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมสมัยใหม่ในการทำงาน
  5. เป็นงานจากไอเดีย ,ความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างงาน               
  6. เป็นงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ,มีเอกลักษณ์ เฉพาะของผู้ผลิตงาน
  7. ผลิตภัณฑ์เหมาะแก่การใช้งาน
  8. ผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ใช้สอย
  9. ผลิตภัณฑ์ส่งผลด้านจิตใจ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคเมื่อแรก      พบเห็น เช่นมีความน่าสนใจในเอกลักษณ์ , มีคุณค่ามากกว่าราคาจำหน่าย
  10. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน, เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์

 

สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   ของเครือข่ายตลาดสีเขียว

(   ข้อมูลอ้างอิงจากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม   กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  มาตรฐาน ISO 14021 : 1999)

  1. สามารถย่อยสลายได้ (Compostable)

ผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์หรือส่วนประกอบ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และ กลายสภาพเป็นฮิวมัส

  1. สามารถแตกสลายได้ (Degradable)

ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์, ในสภาวะจำเพาะ,  สามารถแตกสลายเป็นชิ้นเล็กตามขนาดที่กำหนดภายในสภาวะที่เหมาะสมในระยะเวลาหนึ่ง               

  1. ออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการแยกชิ้นส่วน ( Design for disassembly)

การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถแยกชิ้นส่วนได้  หลังจากหมดอายุการใช้ งาน (เมื่อไม่มีการใช้งาน)  เพื่อให้สามารถนำเอาส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนมาใช้ซ้ำ  การนำมาปรับใช้ใหม่ , นำกลับมาเพื่อเป็นพลังงาน        

  1. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน (Extended life product)

การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ขึ้นโดยการเพิ่ม ความคงทนหรือออกแบบให้อัพเกรดได้   ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดการใช้ ทรัพยากรหรือ ลดของเสียจากซากเหลือทิ้ง   

  1. พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recovered energy)

การใช้พลังงานจากการนำวัสดุ หรือพลังงานที่ถูกปล่อยทิ้งกลับมาใช้ใหม่  หรือจาก

กระบวนการจัดการเพื่อเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงาน     

  1. สามารถแปรสภาพใช้ใหม่ได้ (Recyclable)

ผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์หรือส่วนประกอบ  ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรม  และสามารถจัดเก็บแปรสภาพ และใช้ใหม่ในรูปของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ได้       

  1. มีส่วนประกอบจากวัสดุรีไซเคิล หรือ waste จากกระบวนการอื่นๆ (Recycled content)

ส่วนประกอบที่แปรสภาพกลับมาใช้ใหม่ได้  สัดส่วนโดยมวลของวัตถุดิบที่ สามารถแปรสภาพใช้ใหม่ได้  ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ซึ่งมาจากวัสดุแปรสภาพใช้ใหม่

  1. ลดการใช้พลังงานในช่วงการใช้งาน (Reduced energy consumption)

รูปแบบของประสิทธิภาพการอนุรักษ์   และการประหยัดพลังงาน  เทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น   ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน                 

  1. ลดการใช้ทรัพยากร (Reduced resource use)

การลดปริมาณ วัตถุดิบ,พลังงาน  และการใช้น้ำในช่วงการผลิตหรือการกระจายสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์   หรือส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง      

  1. ลดการใช้น้ำ (Reduced water consumption)

 การลดการใช้น้ำที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นเทียบกับผลิตภัณฑ์เทียบเคียง 

  1. สามารถใช้ซ้ำและเติมใหม่ได้(Reusable and refillable)

ถูกออกแบบให้หมุนเวียนหรือใช้ซ้ำในหน้าที่การใช้งานเดิมได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์   เติมใหม่ได้ผลิตภัณฑ์หรือ บรรจุภัณฑ์สามารถใช้เติมด้วย     

  1. ลดของเสีย (Waste reduction)

การลดปริมาณ(มวล) ของวัสดุ ที่จะกลายเป็นขยะ  ซึ่งเป็นผล มาจากการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิต

  1. วัสดุหมุนเวียน (Renewable material)

 ประกอบด้วยชีวมวล ซึ่งมาจากสิ่งมีชีวิต  และสามารถสร้างทดแทนได้ อย่างต่อเนื่อง   

  1. การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)

พลังงานที่สร้างจากแหล่งที่ใช้แล้วไม่หมดไป  หรือสามารถสร้างทดแทนได้ อย่างต่อเนื่อง พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดได้แก่แสงอาทิตย์ พลังงานลม  ฯลฯ        

 

     สินค้าผ้ามัดย้อมของเครือข่ายตลาดสีเขียว

  1. วัตถุดิบตั้งต้น…เส้นใยผ้า

           เส้นใยจากธรรมชาติ  เช่นฝ้าย , กัญชง

           เส้นไหมแท้

           เส้นใยประดิษฐ์  (เส้นใยสังเคราะห์) เช่น  พอลีเอสเตอร์ , โทเร ,ไนลอน

           เส้นใยผสม เช่น เส้นใยธรรมชาติผสมเส้นใยธรรมชาติ  , เส้นใยธรรมชาติผสมเส้นใยประดิษฐ์ , เส้นใยประดิษฐ์ผสมเส้นใยประดิษฐ์

  1. สีย้อมจากธรรมชาติ

           ใบไม้

           เปลือกไม้

           อื่นๆ……..

  1. การ FIX สี

           น้ำต่างๆเช่น  น้ำด่าง, น้ำปูน,น้ำสนิม

           อื่นๆ

  1. ค่าความเป็นกรดด่าง ph. 5 - 8.5
  2. การซักหลังย้อม

 

Share: